ปัญหา “ขยะ” ในจังหวัดภูเก็ต เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤตและกำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง เนื่องจากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ในช่วง Low Season จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง แต่ปริมาณขยะกลับมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
“ปริมาณขยะ” ในตำบลราไวย์ก็เช่นเดียวกัน มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี โดยในปี 2567 ปริมาณขยะเฉลี่ยเดือนละ 1,600 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ส่งผลกระทบต่อการกำจัดขยะทั้งในตำบลราไวย์ และจังหวัดภูเก็ต
เทศบาลตำบลราไวย์ ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการขยะและการกำจัดขยะในครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ด้วยวิธีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในครัวเรือน และการคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลการดำเนินการให้ประชาชนทราบ
การบริหารจัดการขยะและการกำจัดขยะในครัวเรือน ภายใต้ “โครงการธนาคารขยะ” ประจำปี 2568 เพื่อรับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ นำกลับสร้างมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ชุมชนในตำบลราไวย์ นับว่าเป็นการบูรณาการระหว่างเทศบาลตำบลราไวย์ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และชุมชน เข้าด้วยกันในการแก้ไขปัญหาขยะ และส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
------------------------------------------------------
ในวันที่ 17 มกราคม 2568 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลราไวย์ ร่วมกับอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ตำบลราไวย์ ดำเนินโครงการธนาคารขยะ ประจำเดือนมกราคม 2568 ในกิจกรรมรับซื้อขยะ อาทิ กระดาษลัง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ฯลฯ ในครั้งนี้ธนาคารขยะรับซื้อขยะประมาณ 2,500 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 15,000 บาท ณ พื้นที่กุโบร์ราไวย์
โครงการธนาคารขยะ ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะในพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความสามัคคีของชุมชนตำบลราไวย์
------------------------------------------------------
รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของเทศบาลตำบลราไวย์
1. ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม : การบริหารจัดการขยะและการกำจัดขยะในครัวเรือน ภายใต้ “โครงการธนาคารขยะ” ประจำปี 2568
2. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
- เทศบาลตำบลราไวย์ (คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่)
- อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ตำบลราไวย์
- กำนันผู้ใหญ่บ้าน 7 หมู่บ้าน
- ประชาชนในตำบลราไวย์ ประมาณ
- ชาวต่างชาติที่พักอาศัยในตำบลราไวย์ ประมาณ 10 คน
3. ผลจากการมีส่วนร่วม
- ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการขยะและการกำจัดขยะในครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ประชาชนและชาวต่างชาติ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลราไวย์ และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ตำบลราไวย์ สนับสนุนหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ด้วยวิธีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในครัวเรือน และการคัดแยกขยะ อาทิ การจัดทำถังขยะเปียก, โครงการธนาคารขยะ
- เทศบาลตำบลราไวย์ และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ตำบลราไวย์ รับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ นำกลับสร้างมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชนในตำบลราไวย์
- โครงการธนาคารขยะในตำบลราไวย์ ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะในพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความสามัคคีของชุมชนตำบลราไวย์
4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน
- โครงการธนาคารขยะ สามารถบูรณาการร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลราไวย์ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และชุมชน เข้าด้วยกันในการแก้ไขปัญหาขยะ และส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม
- ลดปริมาณขยะในครัวเรือน อาทิ กระดาษลัง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ฯลฯ
- สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และชุมชนในตำบลราไวย์